Saturday, September 7, 2013

Visual Basic 6.0 และ การใช้ Snapshot ต่าง (Using Snapshots)



Visual Basic 6.0 และ การใช้ Snapshot ต่าง (Using Snapshots)
ใน Visual Basic 6.0 Snapshot เป็นชื่อที่มีความหมายเป็นภาพหรือสำเนาข้อมูลในกลุ่มเรคอร์ด (Recrodset) ที่เวลาใดเวลาหนึ่งโดยเฉพาะ
Snapshot คล้ายกับ Dynaset ตรงที่สร้างจากตารางต่างๆ, การใช้คำสั่งของ SQL, หรือ จาก QueryDef, dynaset หรือ snapshot อื่น snapshot ต่างจาก dynaset ตรงที่มันไม่สามารถปรับปรุงได้
ตัวอย่าง Source Code ต่อไปนี้ ได้แสดงวิธีการสร้างกลุ่มเรคอร์ด (Record) ประเภท Snapshot เอาไว้คือ
Set ThisRS=ThisDB.OpenRecordset(sSQL,dbOpenSnapshot)
*** Snapshot จะนำข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดออกมาแสดงได้เร็วกว่า Dynaset เพราะว่า snapshot จะใช้วิธีสำเนาข้อมูล แต่ dynaset จะใช้วิธีกำหนดพอยน์เตอร์ (pointer) ชี้ไปที่ข้อมูล
Snapshot  ไม่สามารถปรับปรุง recordset
***เราควรใช้ snapshot ส่งกลับกลุ่มเรคอร์ดเล็กๆเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับหน่วยความจำต่างๆ
การติดตั้ง snapshot (Setting Up a Snapshot) เราสามารถสร้าง snapshot โดยการกำหนดออปเจ็คต์ Recordset กับคำสั่ง Dim
แล้วใช้ เมธอด OpenRecordset พร้อมพารมิเตอร์ dbOpenSnapshot เพื่อกำหนดเรคอร์ดต่างๆให้ออปเจ็คต์ dynaset จะอนุญาตท่านสามารถระบุพารามิเตอร์ต่างๆในเมธอด OpenRecordset ดังนี้
dbDenyWrite   ป้องกันผู้ใช้อื่นๆ ไม่ให้เขียนลงใน dynaset ในขณะที่เราเปิดใช้งานอยู่
dbForwardOnly สนับสนุนให้เลื่อนผ่าน snapshot ไปข้างหน้าเท่านั้น
dbSQLPassThrough ผ่านคำสั่งของ SQL ที่ใช้สร้าง snapshot ไปให้ฐานข้อมูลของ ODBC เพื่อดำเนินการ

Visual Basic 6.0 และ การใช้ กลุ่ม Record ที่เลื่อนไปข้างหน้าเท่านั้น

Visual Basic 6.0 และ การใช้ กลุ่ม Record ที่เลื่อนไปข้างหน้าเท่านั้น
กลุ่ม Record ที่เลื่อนไปข้างหน้าเท่านั้น จัดได้ว่าเป็น snapshot ประเภทหนึ่ง ที่อนุญาตให้เลื่อนผ่านเรคอร์ดต่างๆ ไปข้างหน้าได้อย่างเดียวเท่านั้น อันนี้หมายความว่า ท่านใม่สามารถใช้เมธอด MoveFist, MovePrevious, Find ทำงานบน Recordset ดังกล่าว
งานลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้รายงานสารสนเทศต่างๆอย่างรวดเร็ว
การกำหนดให้ Rcordset ให้เลื่อนไปข้างหน้าอย่างเดียวเท่านั้น ท่านจะต้องใช้เมธอด Open Recordset และระบุค่าคงที่ dbOpenForwardOnly ดังนี้
Set ThisRS =ThisDB.OpenRecordset(sSQL, dbOpenForwardOnly)


Visual Basic 6 และการใช้ Dynaset ต่างๆ (Using Dynasets)



Visual Basic 6 และการใช้ Dynaset ต่างๆ (Using Dynasets)
Dynaset  เป็นสารสนเทศจากหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งตารางในฐานข้อมูล สารสนเทศนี้ประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆ ที่เลือกจากตารางต่างๆ ตามเงื่อนไขที่ระบุ
Dynaset จะกำหนดที่อยู่ของเรคร์ดต่างๆ ในตาราง เมื่อ Dynaset ถูกสร้างขึ้น Dynaset จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรบปรุงเรคอรดต่างๆ แล้วบรรจุไว้ในฐานข้อมูล อย่างไรก็ตามไม่สามารถเพิ่มหรือลบเรคอร์ดที่ดำเนินการโดยผู้ใช้อื่นหรือโปรแกรมอื่นโดยอัตโนมัติภายหลังที่ Dynaset  ได้ถูกสร้างขึ้น ดังนั้น Dynaset ต่างๆจะมีประโยชนน้อยสำหรับบางแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานหลายคน
การติดตั้ง Dynaset (Setting Up a Dynaset) : การติดตั้ง Dynaset สำหรับใช้ภายในโปรแกรมท่านจำเป็นต้องกำหนด Recordset พร้อมกับคำสั่ง dim แล้วสร้าง Dynaset โดยการใช้เมธอด OpenRecordset พร้อมกับพารามิเตอร์ dbOpenDynaset
เมื่อท่านกำลังสร้าง Dynaset ส่วนคีย์ของเมธอด OpenRecordset เป็นคำสั่งของ SQL ซึ่งกำหนดเรคอร์ดต่างๆ ตามที่ต้องการ
เงื่อนไขของตัวกรอง (Filter), เงื่อนไขของการเรียงลำดับ, และเงื่อนไขการเชื่อมโยงกันของข้อมูลจากหลายตาราง
โค้ดต่อไปนี้ แสดงวิธีการสร้าง Dynaset โดยการใช้คำสั่ง SQL ระบุเงื่อนไขในการจัดการเรคอร์ดต่างๆ
Dim ThisDb as Database
Dim ThisRs As Recordset
Dim sSQL As String
Set ThisDB=OpenDatabase(“Biblio.md”)
sSQL=”SELECT*FROM titles WHERE title<=’J’ ORDER BY title”
Set ThisRS=ThisDB.OpenRecordset(sSQL,dbOpenDynaset)
ถ้าต้องการตารางต่างๆ ทั้งหมดในตารางเดียวใน Dynaset ท่านสามารถละเว้นการใช้คำสั่งของ SQL และใช้ชื่อตาราง title ดังนี้
Dim dbBusiness As Database
Dim rsSales As Recordset
Set rsSales =dbBusiness.OpenDatabase(“titles”)
*** การใช้คำสั่ง SQL เป็นความคิดที่ดี ในกรณีที่ท่านต้องการปรับปรุงเรคอร์ดต่างในภายหลัง
เมื่อเราสร้าง Dynaset เราสามารถใช้คำสั่งของ SQL เลือกเรคอร์ดต่างๆ เรายังสามารถระบุเงื่อนไขต่างๆที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของ Dynaset ได้ดังนี้
พารามิเตอร์                               กิจกรรม
DbDenyWrite                            ป้องกันผู้ใช้อื่นๆ ไม่ให้เขียนลงใน Dynaset ขณะที่เราเปิดใช้งาน
dbReadOly                                ป้องกันเราไม่ให้เปลี่ยนแปลง Dynaset
dbAppendOnly                          ช่วยเพิ่มเรคอร์ดใหม่ต่างๆ แต่ป้องกันเราจากการอ่านหรือปรับปรุงเรคอร์ดต่างๆ ที่ได้สร้างไว้แล้ว
dbSQLPassThrough                  ผ่านคำสั่งของ SQL ที่ใช้สร้าง Dynaset ไปให้เซิร์ฟเวอร์ของฐานข้อมูลของ ODBC เพื่อดำเนินการ
Source code ต่อไปนี้ เป็น ตัวอย่างแสดงวิธีการสร้าง Recordset ประเภท Dynaset ที่อนุญาตผู้ใช้อ่านสารสนเทศในฐานข้อมูลได้อย่างเดียวเท่านั้น
Dim dbBusiness  As Database
Dim rsSales As Recordsed
Set dbBusiness=OpenDabase(“Biblio.mdb”)
Set rsSales=dbBusiness.OpenRecordset(“SELECT * FROM titles”, _ dbOpenDynaset, dbReadOnly)
*** เซิร์ฟเวอร์ (Server) ของ ODBC เป็นกลไกของฐานข้อมูล เช่น Microsoft SQL Server หรือ Oracle ที่สอดคล้องกับ ODBC (Open Database Connectivity) มาตรฐาน วัตถุประสงค์ของเซิร์ฟเวอร์ก็เพื่อดำเนินการเชื่อมโยงแบบสอบถามในเซิร์ฟเวอร์ และส่งกลับไปยังคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) เฉพาะผลลัพธ์ต่างๆ ของแบบสอบถาม, ไดรเวอร์ (Driver) ต่างๆ ของ ODBC ซึ่งปกติจะเขียนด้วยเจ้าของกิจการกลไกฐานข้อมูล เพื่อใช้เชื่อมโยงระหว่าง Visual Basic และเซิร์ฟเวอร์ของฐานข้อมูล ขณะนี้ ODBC มีความก้าวหน้ามาก ท่านสามารถใช้เชื่อมโยงไปยังสารสนเทศบนเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ของฐานข้อมูล โดยไม่ต้องทราบการทำงานภายในกลไกนั้นๆ
ท่านสามารถสร้าง Dynaset จาก Dynaset อื่น และยังสามารถใช้ Properties Filter และ Sort ของ Dynaset แรกระบุเรคอร์ดต่างๆ ที่ต้องการและแสดงตามเงื่อนไขต่างๆของ Dynaset ที่สอง
Source code ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างวิธีการสร้าง Dynaset จากตารางลูกค้าให้ Mailling list Dynaset ที่สองสร้างขึ้นเฉพาะลูกค้าที่อาศัยอยู่ใน Tennessee และเรียงลำดับตามรหัสไปรษณีย์ ดังนี้
Dim dbMailList As Database
Dim rsCustomer As Recordset
Dim rsTenCust As Recordset
Set dbMailList =OpenDatabase(“sDBLocation”)
Set rsCustomer=dbMailList.OpenRecordset(“Customers”), dbOpenDynaset)
rsCustomers.Filter=”state=’TN’ “
rsCustomers.Sort=”ZIPS”
สองคำสั้งท้ายสุด ได้สร้าง Dynaset ที่สองพร้อมระบุสารสนเทศที่ต้องการต่างๆจาก dynaset แรก ทำให้ dynaset ที่สองแสดงลูกค้าทั้งหมดจาก Tennessee ได้รวดเร็วมาก
                

Wednesday, August 28, 2013

Visual Basic 60 การปรับปรุงคุณลักษณะที่แกนองค์ประกอบโดยรอบของกราฟ

Visual Basic 6.0 กับ Crytal Report 9.2 และ การปรับปรุงคุณลักษณะที่แกนองค์ประกอบโดยรอบของกราฟ
เนื่องจากกราฟออบเจ็กต์ ได้ถูกออกแบบมาสำหรับกราฟเกือบทุกชนิด ดังที่เราทราบมาแล้วที่คุณลักษณะ GraphType ดังนั้นจึงได้เตรียมแกนมาให้สำหรับทุกแกน เพื่อให้เราปรับปรุง แกนที่สามารถให้ปรับปรุงมีทั้งหมด 4 แกนด้วยกัน กราพบางกราฟไม่สามารถใช้ได้ครบทุกแกน อย่างเช่น กราฟแท่งธรรมดจะใช้เพียง 2 แกนเท่านั้นเป็นต้น สำหรับแกนทั้งสี่มีดังต่อไปนี้คือ
แกน DataAxis เป็นแกนหลักที่ใช้คำนวณเพื่อสร้างเป็นขนาดของกราฟที่ประเภทต่างๆ ของอีกแกนหนึ่ง เป็นแกนที่ใช้กับทุกกราฟ ถ้าเป็ฯกราฟสองมิติจะเป็นแกน Y แต่ถ้าเป็นสามมิติจะเป็นแกน Z เป็นแกนที่สร้างจากการเพิ่มฟิลด์ ที่มีคุณลักษณะ SummaryFields ดังแสดงในรูปหน้าถัดไป

แกน GroupAxis เป็นแกนที่สำหรับจัดกลุ่ม เพื่อแสดงกราฟ มักเป็นข้อมูลที่มาจากการจัดกลุ่มที่ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งหรือเป็นข้อมูลที่มาจากการเพิ่มฟิลด์ที่คุณลักษณะ ConditionFields ถ้าเป็นกราฟสองมิติ จะเป็นแกน x แต่ถ้าเป็นกราฟสามมิติจะเป็นแกน X หรือY ดังแสดงในรูปหน้าถัดไป

แกน SeriesAxis เป็นแกนที่ใช้สำหรบกราฟสามมิติ ดังนั้นจึงเป็นแกนที่สร้างจากการเพิ่มฟิลด์เป็นลำดับที่ 2 ที่คุณลักษณะ ConditionFields หรือที่คุณลักษณะ SummaryFields เป็นแกน X หรือ Y

แกน Data2Axis เป็นแกนสำรอง สำหรับใช้กับการสร้างกราฟที่ต้องอาศัยแกนทั้งสี่ หรือ กราฟที่เป็นชุดหรือหลายๆกราพ เป็นแกนที่สร้างจากการเพิ่มฟิลด์เป็นลำดับที่ 3 ที่คุณลักษณะ ConditionFields หรือที่คุณลักษณะ SummaryFields

สำหรับกราฟสามมิติ และข้อความประกอบที่แกนต่างๆ ที่มีดังต่อไปนี้คือ DataTitle เป็นข้อความประกอบแกน DataAxis ที่เป็นแกนตั้ง GroupTitle เป็นข้อความประกอบแกน GroupAxis และ SeriesTitle เป็นข้อความประกอบแกน SeriesAxis ข้อความประกอบแกนนี้ เราสามารถกำหนดเองให้เป็นข้อความใดๆ ตามที่ต้องการได้ ตลอดจนเส้นหน่วยหลักหรือหน่วยย่อยที่ประกอบแกนทั้งสี่ ดังนี้คือ
DataGridline เป็นเส้นหน่วยหลักหรือ หน่วยย่อยที่ประกอบแกน DataAxis, GroupGridline เป็นเส้นหน่วยหลักหรือหน่วยย่อยที่ประกอบแกน GroupAxis และ SeriesGridline เป็นเส้นหน่วยหลักหรือหน่วยย่อยที่ประกอบแกน SeriesAxis ดังแสดงในรูปที่ผ่านมา เส้นเหล่านี้เราสามารถกำหนดให้แสดงเส้นหรือไม่ก็ได้ หรือให้แสดงเส้นหน่วยหลักอย่างเดียว ไม่แสดงเส้นหน่วยย่อยก็ได้ จากการปรบปรุงคุณลักษณะ
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีข้อความที่ใช้แสดงประกอบประเภทของกราฟ ซึ่งข้อความนี้ มักจะสร้างจากการจัดกลุ่มและนำชื่อกลุ่มมาแสดงให้ ที่เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงได้เลย ซึ่งข้อความนี้ มักจะสร้างจากการจัดกลุ่มและนำชื่อกลุ่มมาแสดงให้ ที่เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงได้เลย แต่เราสามารถปรับปรุงคุณลักษณะเพื่อเลือกแบบอักษรที่ใช้ได้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ Serieslabel เป็นข้อความแสดงหน่วยบนแกน GroupAxis และ GroupLabel เป็นข้อความประกอบหนวยบนแกน SeriesAxis

DataAxisDivisionMethod, Data2AxisDivisionMethod, GroupAxisDivisionMethod,SeriesAxisDivisionMethod เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดรูปแบบการกำหนดระยะห่างของสเกลของแก่นทั้งสี่ชนิด มีค่าเป็นตัวเลขสองตัวเลขคือ 0 ที่มีค่าเป็นตัวแปรคงที่เป็น crAutomaticDivision สำหรับแบบอัตโนมัติ และเป็นค่าเริ่มต้น และตัวเลข 1 ที่มีค่าตัวแปรคงที่เป็น crManualDivision สำหรับกำหนดเอง

DataAxisDivisionNumber, Data2AxisDivisionNumber, GroupAxisDivisionNumber, SeriesAxisDivisionNumber เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดระยะสเกล มีค่าเป็นตัวเลข และคุณลักษณะนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อ ได้กำหนดคุณลักษณะที่แล้วเป็น 1 คือ กำหนดเอง

DataAxisGridline, Data2AxisGridline, GroupAxisGridline, SeriesAxisGridline
เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดขนาดของเส้นระยะสเกล ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กำหนดเส้น จนถึงขนาดหนามากที่สุด ดึงต่อไปนี้
crNoGridlines 0
crMinorGridlines 1
CrMajorGridlines 2
crMajorAndMinorGridlines 3

DataAxisNumberFormat, Data2AxisNumberFormat, GroupAxisNumberFormat, SeriesAxisNumberFormat, DataValueNumberFormat เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดรูปแบบการแสดงตัวเลขที่แกนทั้งสี่ ที่มีรูปแบบตั้งแต่กำหนดจำนวนจุดทศนิยม รูปแบบทางการเงิน และหน่วย มีค่าเป็นตัวเลขดังแสดงในตารางดังต่อไปนี้
crNoDecimal 0
crOneDecimal 1
crTwoDecimal 2
crCurrencyNoDecimal 3
crCurrencyTwoDecimal 4
crPercentNoDecimal 5
crPercentOneDecimal 6
crPercentTwoDecimal 7
crCustomNumberDecimal 8
crThousandsNoDecimal 9
crMillionsNoDecimal 10
crCurrencyThousands 11
crCurrencyMillions 12

DataLabelFont, Data2LabelFont, GroupLabelFont, SeriesLabelFont เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดแบบอักษรที่แดงที่ DataLabel, Data2Label, GroupLabel และ SeriesLabel

DataTitle, Data2Title, GroupTitle, SeriesTitle เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดข้อความประกอบแกนทั้งสี่ที่ได้กล่าวไปแล้ว มีค่าเป็นข้อความที่ต้องการแสดงประกอบแกน

DataTitleFont, Data2TitleFont, GroupTitleFont, SeriesTitleFont, SeriesLabelFont เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดแบบอักษรของข้อความบนแกนทั้งสี่ ในคุณลักษณะที่แล้ว ถ้าหากต้องการใช้ภาษาไทย ให้เลือกแบบอักษรที่รับกับภาษาไทยก็ได้เช่น Angsana New หรือ Cordia New เป็นต้น

Title เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดข้อความที่เป็นหัวข้อของกราฟ มีค่าเป็นข้อความที่ต้องการให้แสดง
Subtitle เป็นคุณลักษณะสำหรับแสดงข้อความถัดลงมาจากข้อความหัวข้อของกราฟ มีค่าเป็นข้อความที่ต้องการ
TitleFont, SubTitleFont เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดแบบอักษร แก่ข้อความหัวกราฟและข้อความถัดมา ถ้าหากต้องการใช้ภาษาไทย ให้เลือกแบบอักษรที่รับกับภาษาไทยได้
xAxisTitle เป็นคุณลักษณะสำหรับแสดงข้อความบนแกน x มักเป็นข้อความเดียวกับข้อวความในคุณลักษณะ GroupTitle

Y2AxisTitle เป็นคุณลักษณะสำหรับแสดงข้อความบนแกน Y แกนสำรอง มักเป็นข้อความเดียวกับข้อความในคุณลักษณะ SeriesTitle หรือ Data2Title

YAxisTitle เป็นคุณลักษณะสำหรับแสดงข้อวความบนแกน Y มักเป็นข้อความเดียวกับข้อความในคุณลักษณะ DataTitle

ZAxisTitle เป็นคุณลักษณะสำหรับแสดงข้อความบนแกน Z มักเป็นข้อความเดียวกับข้อความในคุณลักษณะ SeriesTitle หรือ Data2Title
 
   การกำหนดคุณลักษณะค่าเริ่มแรก (Default) แก่ข้อความบนแกน หรือ ที่หน่วยของแกน โดยจะมีคุณลักษณะดังรายการต่อไปนี้คือ IsData2TitleByDefault,IsDataTitleDefault, IsFootnoteByDefault, IsGroupTitleByDefault, IsSeriesTitleByDefault, IsSubTitleByDefault, IsTitleByDefault, IsXAxisTitleByDefault, IsYAxisTitleByDefault, IsZAxisTitleByDefault ทั้งหมดมีค่าเป็นจริงหรือเท็จ และมีค่าเริ่มต้นเป็นจริง คือให้มีการกำหนดข้อความบนแกนเหล่านี้เอง แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงข้อความนี้ ในภายหลังได้

MaxDataAxisValue, MaxData2AxisValue, MaxSeriesAxisValue เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดค่าสูงสุดให้กับแกนที่สามารถแสดงค่าได้ หากไม่มีการกำหนดจะมีค่าเป็นศูนย์ และเป็นค่าเริ่มแรก คือให้กำหนดค่าเองตามข้อมูล

MinDataAxisValue, MinData2AxisValue, MinSeriesAxisValue เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดค่าต่ำสุดให้กับแกนที่สามารถแสดงค่าได้ หากไม่มีการกำหนดจะมีค่าเป็นศูนย์ และเป็นค่าเริ่มแรก คือให้กำหนดค่าเองตามข้อมูล

LegendFont เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดแบบอักษร แก่ข้อความใน Legend ที่แสดงตัวอย่างของกราฟในแต่ละประเภทที่มักจะแสดงที่ด้านซ้ายมือของกราฟ

LegendLayout เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูลใน Legend ที่ใช้กับกราฟวงกลมเท่านั้น เช่น ให้แสดงผลรวมข้อมูลของแต่ละประเภท หรือแสดงร้อยละของแต่ละประเภท หรือแสดงทั้งสองแบบ

LegendPosition คือ คุณลักษณะสำหรับกำหนดตำแหน่งการวางของ Legend ซึ่งตามปกติจะมีตำแหน่งเริ่มแรกที่ด้านขวามือ  แต่ถ้าเราต้องการให้วางไว้นอกเหนือจากนี้ ก็สามารถเลือกวางได้อีกสามตำแหน่ง คือ ด้านบน ด้านล่าง และด้านซ้ายมือ โดยมีค่าตัวแปรคงที่หรือตัวเลข

FootNote เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดข้อความที่จะไปปรากฏที่ด้านล่างมุมขวามือของกราฟ
FootNoteFont เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดแบบอักษระ สำหรับ FootNote ถ้าต้องการให้แสดงภาษาไทย ให้เลือกแบบอักษรที่สามารถแสดงภาษาไทยได้
GraphColor เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดให้กราฟแสดงกราฟสี หรือให้แสดงกราฟขาวดำ มีค่าเป็นตัวเลขหรือตัวแปรคงที่ดังนี้คือ ค่าตัวแปรคงที่ crColorGraph ที่มีค่าเป็น 0 สำหรับให้กราฟแสดงกราฟสี และค่าตัวแปรคงที่ crBlackAndWhiteGraph ที่มีค่าเป็น 1 สำหรับให้กราฟแสดงกราฟขาวดำ โดยมีค่าเริ่มต้นที่กราฟสี
GraphDirection เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดทิศทางของกราฟที่มีอยู่สองทิศทางคือในแนวตั้งและในแนวนอน มีค่าเป็นตัวเลข หรือตัวแปรคงที่ดังนี้คือ ค่าตัวแปรคงที่ crHorizontalGraph ที่มีค่าเป็น 0 สำหรับให้กราฟแสดงในแนวนอน และ ค่าตัวแปรคงที่ crVerticalGraph ที่มีค่าเป็น 1 สำหรับให้กราฟแสดงในแนวตั้ง โดยมีค่าเริ่มต้นที่แสดงกราฟแนวตั้ง
EnableAutoScalDataAxis, EnableAutoScaleData2Axis, EnableAutoScaleSeriesAxis เป็นคุณลักษระที่ให้สร้างสเกลบนแกนทั้งสามแบบอัตโนมัติหรือไม่ มีค่าเป็นจริงเท็จ ปกติมีค่าเริ่มต้นที่เป็นจริง
EnableShowLegend เป็นคุณลักษณะที่ให้สร้างแสดง Legend ที่แสดงประเภทกราฟหรือไม่ มีค่าเป็นจริงเท็จ ปกติมีค่าเริ่มต้นเป็นจริง
DataPoint เป็นคุณลักษณะสำหรับแสดงข้อมูลบนตัวกราฟแต่ละประเภท เพื่อประกอบการแสดงกราฟ ที่มีการแสดงสามรูปแบบตั้งแต่ไม่มีการแสดงข้อมูล ไปจนถึงการแสดงข้อมูลบนตัวกราฟชนิดต่างๆที่มีทั้งหมดสามตัวเลือก มีค่าเป็นตัวแปรคงที่หรือตัวเลขคงที่ดังต่อไปนี้ crName ที่มีค่าเป็น 0 สำหรับไม่แสดงข้อมูล และเป็นค่าเริ่มต้น crShowLabel ที่มีค่าเป็น 1 สำหรับแสดงชื่อกลุ่มของประเภทกราฟและ crShowValue ที่มีค่าเป็น 2 สำหรับแสดงค่าของกลุ่มที่นำมาสร้างกราฟแต่ละประเภท
PieSize เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดขนาดของกราฟวงกลม โดยมีขนาดให้เลือกทั้งหมดสี่ขนาด ตามค่าตัวแปรคงที่และค่าตัวเลขดังตารางต่อไปนี้ ปกติมีค่าเริ่มต้นที่ crLargePieSize
ViewingAngle เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดมุมมองลงมาบนกราฟ เป็นมุมที่มองจากด้านบน มาจนถึงมุมมงขึ้น เป็นคุณลักษระที่ใช้กับกราฟสามมิติ โดยมีค่าเป็นตัวเลขที่แทนมุมมองที่ระดับต่างๆทั้งหมด 16 มุมมอง มีค่าเริ่มต้นที่ค่าตัวแปรค่าคงที่ crStandardView ที่มีค่าตัวเลขเป็น 1 โดยมีตัวอย่างมุมมอง ค่าตัวแปรคงที่และตวเลข
HasDropShadow เป็นคุณลักษณะสำหรับแสดงแสงเงาที่ขอบของออบเจ็กต์กราฟ โดยจะต้องกำหดให้แสดงขอบออบเจ็กต์ประกอบด้วย มีค่าเป็นจริงหรือเท็จ
MarkerShap เป็นคุณลักษณะสำหรับแสดงจุด ที่ตัดกับเส้น Grid หรือเส้นสเกลที่มักใช้กับกราฟเส้นตรงต่างดังแสดงในรูป ที่เราสามารถเลือกรูปร่างของ Marker ได้อีก 4 รูปร่าง ตั้งแต่รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยมสามเหลี่ยมปกติมีค่าเริ่มต้นที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยม มีค่าเป็นตัวเลขและตัวแปรคงที่ดังแสดงต่อไปนี้
crRegtangleShape 1 เท่ากับ สี่เหลี่ยม
crCircleShape 4 เท่ากับ วงกลม
crDiamondShape 5 เท่ากับ ดาว
crTriangleShape 8 สามเหลี่ยม
MarkerSize เป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดขนาดของ Marker ที่แตกต่างกันตั้งแต่ขนาดเล็กสุด ไปจนถึงขนาดใหญ่สุด โดยมีขนาดให้เลือก 5 ขนาด มีค่าเป็นตัวเลขเรียงตั้งแต่ขนาดเล็กสุด ไปจนถึงขนาดใหญ่สุด ปกติจะกำหนดขนาดที่มีค่าตัวเลขเป็น 2 มีค่าตัวแปรคงที่เป็น crMediumMarker
crSmallMarkers 0
crMediumSmallMarkers 1
crMediumMarkers 2
crMediumLargeMarkers 3
crLargeMarkers 4

Width, Heigh เป็นคุณลักษณะที่เราคุ้นเคยมาอย่างดี เนื่องจากเป็นคุณลักษณะสำหรับกำหนดขนาดของออบเจ็กต์ทุกออบเจ็กต์สำหรับการแสดงกราฟนี้ การกำหนดขนาดจากคุณลักษณะทั้งสองนี้เป็นเรื่องจำเป็น ถ้าหากเราเขียนโปรแกรม โดยไม่กำหนดขนาดแล้วอาจจะได้กราฟที่เล็กเกินไป ดังนั้นในการเขียนโปรแกรมสร้างกราฟออบเจ็กต์ควรกำหนดขนาดด้วย


Saturday, March 2, 2013

การใช้ array ใน vb.net

ตัวอย่างการใช้ array โดยการประกาศตัวแปร เข้าถึง class arraylist
Module Module1

    Sub Main()
 Dim list As New ArrayList
' เข้าถึง class arraylist 
' กำหนดค่า string 3 ตัวให้กับตัวแปร list ซึ่งเป็นตัวแปรชนิด array
 list.Add("back")
list.Add("To")
list.Add("The Room")
    End Sub

End Module
 ลองเอาไปทำดู
คราวหน้าจะมาแนะนำตัวอย่างการใช้งาน array ที่มากขึ้นกว่าเดิมน่ะ
รอติดตามกัน